วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Journey to the toilet in China 2 ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 2

Journey to the toilet in China 2
ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 2
 

เรื่องนี้เขียนขึ้นเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่จะไปเยี่ยมญาติที่เมืองจีน จะได้ใช้ประกอบการตัดสินใจ. ภาพและเนื้อหาบางอย่างเป็นเรื่องไม่น่าอภิรมย์ ผู้ที่ขวัญอ่อน อ่อนไหวในเรื่องนี้โปรดพิจารณาก่อนอ่านชม ภาพบางภาพอาจมีการปรับแต่งลดสีเพื่อความเหมาะสม 


ความเดิมตอนที่แล้ว 


Ek Feng Shui: Journey to the toilet in China part 1ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน ตอนที่ 1


ผมได้รบเร้าให้อาเหล่ากู๋ พาไปบ้านเก่าแก่ที่อาหวั่วม่าอยู่อาศัยก่อนจะอพยพมาเมืองไทย หลังจากดื่มด่ำกับบ้านเก่าๆและจินตนาการถึงวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ เห็นห้องครัวที่ลูกหลานในยุคปัจจุบันของชนบทจีนก็ยังใช้เตาทรงคล้ายๆแบบนี้อยู่ พื้นไม้ชั้นบนเป็นห้องนอนเก่ามาก แต่ก็ยังไม่พัง เหลียวซ้ายแลขวา 
“เอ๊ะ ห้องน้ำอยู่ไหน”



อาเหล่ากู๋ พาไปบ้านเก่าแก่ที่อาหวั่วม่าอยู่อาศัยก่อนจะอพยพมาเมืองไทย แกก็พาผม โซ้ยกู๋(น้าที่เกิดในไทย) และอาตุ่น(หลานเกิดในไทย) เดินไปตามตรอก ซึ่งชนบทของจีนกับของไทยนี่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บ้านแต่ละหลังอยู่กันอย่างหนาแน่นเหมือนกับตึกแถวรุ่นเก่าในกรุงเทพ คั่นกันด้วยตรอกแคบๆ รถยนต์หมดสิทธิเข้าถึงต้องเดินอย่างเดียว ซึ่งอาเหล่ากู๋แม้จะแก่ร่วมแปดสิบ ซ้ำยังเดินเท้าเปล่า แต่ก็เดินไวชะมัดยาด จนต้องหยุดรอหลานทั้งสามเป็นระยะ



ยุคนี้ยังตากฟืนไว้หน้าบ้าน ผมว่าชนบทไทยน่าจะหายากแล้วที่ยังใช้ฟืนแบบนี้ อาแจ้คนนี้จ้องมองอย่างสงสัยคงไม่ค่อยเคยเห็นคนต่างถิ่นที่แต่งตัวแปลกๆ ซำ้ยังถือกล้องกันพะรุงพะรัง ขนาดวันนี้บ้านอาเหล่ากู๋จัดงานใหญ่ขึ้นบ้านใหม่แท้ๆ ไม่เห็นมีใครถือกล้องถ่ายรูปกันซักคน



อย่าว่าแต่คนเลย ควายมันยังจ้องไม่วางตาเลย วันนี้อาโซ้ยกู๋ดันใส่เสื้อแดงแป๊ดมาซะด้วย เลยเดินไปหวาดไป

ไม่นานก็มาถึงบ้านอาหวั่วม่า ซึ่งรูปทรงและ Space ก็คล้ายๆกับบ้านรุ่นใหม่ที่ลูกอาเหล่ากู่เพิ่งสร้างเสร็จและกำลังขึ้นบ้านใหม่ คนที่นี่เขาอนุรักษ์วิถีชีวิตกันดีจริง ขนาดบ้านเก่าร่วมร้อยปีก็ยังอยู่ เพียงแต่ทรงโทรมไปตามกาลเวลาเท่านั้น ถ้าเป็นเมืองไทยน่ะรึ ป่านนี้ลูกหลานจับแปรสภาพไปนานแล้ว



สอบถามเรื่องอายุบ้านก็ได้ความว่า ทั้งอาหวั่วม่า และพี่น้องทั้งหมดล้วนเกิดและอยู่ที่บ้านหลังนี้ ลองคำนวณดูถ้าหวั่วม่ายังมีชีวิตอยู่ก็อายุร้อยกว่าปีแล้ว บ้านหลังนี้อายุต่ำๆก็ต้องร้อยกว่าปี



ครกกระเดื่องที่ใช้ตำข้าวยังอยู่ ทำให้เราสัมผัสได้ถึงกลิ่นแห่งอดีต



เห็นห้องครัวที่ลูกหลานในยุคปัจจุบันของชนบทจีนก็ยังใช้เตาทรงคล้ายๆแบบนี้อยู่ พื้นไม้ชั้นบนเป็นห้องนอนเก่ามาก แต่ก็ยังไม่พัง เหลียวซ้ายแลขวา “เอ๊ะ ห้องน้ำอยู่ไหน”
“อะไรกัน ! ไม่มีห้องน้ำ”
เรื่องข้อสงสัยว่าไม่มีห้องน้ำแล้วเขาไปเข้าส้วมที่ไหน อย่างไร เดี๋ยวให้อาม้ามาเฉลยให้ฟังในโอกาสต่อไป
แต่เราก็ไม่เสียเที่ยวเรื่องห้องน้ำซะทีเดียวเพราะตอนเดินกลับอาโซ้ยกู๋แม้จะเกิดที่ไทยแต่ก็เคยมาเยี่ยมญาติหลายรอบแล้วรู้ดีว่าส้วมที่นี่เขาเป็นยังไงเลยอาสาพาไปชี้ให้ดู



บ้านกลุ่มนี้เป็นบ้านยุคกลาง ก็คือไม่เก่าแบบบ้านหวั่วม่า แต่ก็ไม่ใหม่แบบบ้านลูกเหล่ากู๋ นั่นไง หน้าบ้านทุกหลังมีขุดรูและมีแผ่นไม้ปิดอยู่



บ้านหลังนี้เรียบร้อยหน่อยมีแผ่นปิดค่อนข้างมิดชิด



หลังนี้ไม่ไหว ปิดไม่หมด แถมยังวางอุปกรณ์การตักโชว์หราอยู่หน้าบ้าน อาโซ้ยกู๋ชี้ Present ให้ดูแล้วยังหัวเราะชอบใจใหญ่ ถึงตรงนี้ผมก็เข้าใจในทันทีที่เห็นส้วมรุ่นใหม่ของบ้านลูกอาเหล่ากู๋อยู่หน้าบ้าน ทั้งที่ศาสตร์ฮวงจุ้ยของจีนห้ามไม่ให้ส้วมอยู่หน้าบ้าน เพราะบ้านรุ่นใหม่ก็ยังติดวัฒนธรรมจากบ้านยุคกลางที่จำเป็นต้องให้ส้วมชิดหน้าเวลาถ่าย ของเสียก็จะไหลออกมาที่บ่อหน้าบ้าน พร้อมตักไปรดผักในตอนเช้าได้ทันที.........เฮ้อ..............

จริงๆมีบ้านที่ไม่ปิดฝาเลย ถ่ายภาพมาด้วย แต่อย่าดูเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น