วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Journey to the toilet in China 4 ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 4

Journey to the toilet in China 4
ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 4

เรื่องนี้เขียนขึ้นเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่จะไปเยี่ยมญาติที่เมืองจีน จะได้ใช้ประกอบการตัดสินใจ. ภาพและเนื้อหาบางอย่างเป็นเรื่องไม่น่าอภิรมย์ ผู้ที่ขวัญอ่อน อ่อนไหวในเรื่องนี้โปรดพิจารณาก่อนอ่านชม ภาพบางภาพอาจมีการปรับแต่งลดสีเพื่อความเหมาะสม
 


เช้าวันที่สาม อาม้าวางแผนจะสลัดชิ่งรถเก่าแก่ไร้เครื่องปรับอากาศของอาเฮียเอี้ยงลิ้ม และเฮียบู๋ลิ้ม ด้วยการจ้างรถตู้ตระเวนเยี่ยมญาติเอง จะได้นั่งรถไปคันเดียวกันทั้ง 6 คน แอร์ก็เย็นฉ่ำ ชะรอยสองเฮียจะรู้ทันสั่งเปลี่ยนโปรแกรมกะทันหัน ให้ไปไหว้ เฮียงบู๋ซัววันนี้แทนที่จะไปวันพรุ่งนี้เพราะอาเฮียบอกว่าไหว้แล้วกลับเข้าเมืองซัวเถามันย้อนไปย้อนมา สู้ไหว้วันนี้แล้วตระเวนเยี่ยมญาติในโผวเล้งจะดีกว่า พวกเราเลยต้องนั่งรถแสนเก่าไม่มีแอร์ไป เฮียงบู๋ซัว ร่วมสองชั่วโมง ระหว่างทางก็คิดถึงเรื่องเมื่อวานเรื่องที่ อาม้าขัดคำสั่งอาหวั่วม่า!


ความช้ำใจ ใจสลายจากการที่รู้ว่าลูกที่อุตส่าห์ฝากญาติสนิทเลี้ยงแต่กลับตาย. กลายเป็นความเจ็บแค้นทำให้ อาหวั่วม่า ย้ำกับอาม้าว่า ถ้าไปเยี่ยมญาติที่เมืองจีน ห้ามไปเยี่ยมบ้านน้องสามีที่หวั่วม่าเคยฝากลูกไว้ โดยเด็ดขาด แต่อาม้าก็ฝ่าฝืนคำสั่ง.......เพราะญาติบ้านนั้นเป็นช่องทางเดียวที่อาตั่วกู๋จะได้กลับไปไหว้สุสานพ่อที่เสีย และกลับไปยังบ้านเกิดอีกครั้ง ทั้งคนรุ่นเก่า รุ่นหวั่วม่าก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว ที่เหลือปัจจุบันเป็นรุ่นลูกรุ่นหลานที่เขาไม่ได้ก่อไว้

ที่จริงถ้าหวั่วม่ายังอยู่ก็คงไม่ว่าอะไรเพราะสิ่งที่ติดค้างในใจแท้จริงไม่ใช่เรื่องความเจ็บแค้น แต่เป็นเรื่องความรู้สึกผิดบาปต่อลูกคนเล็กมากกว่า

การมาครั้งนี้อาจเป็นครั้งสุดท้ายของอาตั่วกู๋แล้ว ด้วยวัยกว่าแปดสิบ และต้องฟอกไตทำให้การเดินทางไปที่ไกลๆไม่สะดวก การมาครั้งล่าสุดเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว เห็นสุสานของพ่อตัวเองที่ทำอย่างง่ายๆ ริมทางเดิน คนแทบจะข้ามไปข้ามมา ก็สลดใจเพราะลูกหลานสายตรงก็ไปอยู่เมืองไทยหมด ลูกหลานที่อยู่ที่นี่เขาก็ต้องทำให้สุสานพ่อตัวเองดีไว้ก่อนอยู่แล้ว  ครั้งนี้ตั่วกู๋จึงต้องมาดูสุสานของพ่อให้เห็นกับตาอีกครั้ง เมื่อพบว่าการร้องขอและส่งเงินจากไทยมาสมทบทุนได้ผล ทำให้สุสานของพ่อและปู่ ย่า ได้ย้ายไปอยู่บนเขา ดูดีมาก ก็สบายใจ

เก้าโมงเช้าคณะเราก็มาถึงเมืองเตี้ยเอี้ย ที่ตั้งของ เฮียงบู๋ซัว ซึ่งทุลักทุเลหน่อยเพราะฝนตกหนัก



ผมได้ยินชื่อ เฮียงบู๋ซัว หรือศาลเจ้าพ่อเสือมานานแล้ว เพราะทุกครั้งที่อาม้าประสบเหตุยุ่งยากไม่ว่าในเรื่องอะไร อาม้าจะขึ้นไปบนดาดฟ้าไหว้ขอพรจากเฮียงบู๋ซัว ก็จะประสบความสำเร็จ ทำให้อาม้าต้องกลับมาไหว้ทุกครั้งที่มาเยี่ยมญาติ ทั้งที่ไกลกันคนละเมือง  มีคนรู้จักบางคนยิ่งกว่าอาม้าอีก มาไหว้เฉพาะที่นี่ทุกปี ไหว้เสร็จกลับเลย เพราะเขาเคยขอพรตอนที่เป็นพนักงานบริษัทธรรมดาๆ ว่าถ้าเขาร่ำรวยเขาจะกลับมาไหว้ทุกปี



อาม้าไม่ได้บนบานให้ตัวเองคนเดียว ยังบนบานเผื่อผมด้วย ซึ่งภายหลังได้ตามประสงค์ ผมจึงต้องมาอธิษฐานและทำบุญตามที่บนบานไว้  ในวัดมีเทพเจ้าหลายองค์มากเลยเดาว่าเป็นองค์ใหญ่ที่สุดองค์นี้แน่ แต่อาม้าว่าไม่ใช่ องค์ใหญ่เป็นองค์ที่สร้างใหม่เมื่อร้อยกว่าปีมานี้เอง เพราะวิหารองค์เก่าแก่คับแคบไม่พอรองรับผู้คนที่หลั่งไหลมาไหว้



องค์ต้นฉบับเป็นองค์เล็กๆอยู่ในห้องที่ไม่กว้างมากนักแต่องค์นี้เขาว่ามีอายุมากกว่า 400 ปีแล้ว


ก่อนลาจากเมืองนี้ซึ่งต้องเดินทางกลับอีกสองชั่วโมงก็ขอเข้าห้องน้ำก่อน ได้ยินเรื่องห้องน้ำสยองจิวจ่ายโกวของอาม้าแล้ว ลองเทียบบัญญัติไตรยางค์ดู ขนาดจิวจ้ายโกว สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังยังสยองขนาดนี้ แล้วที่นี่จะขนาดไหน



ผิดคาดอย่างแรงครับ ออกจะกว้างขวาง สะอาดกว่าส้วมบางที่ตามวัดต่างจังหวัดในบ้านเราเสียอีก



ภายในห้องก็เป็นแบบนั่งยองตามมาตรฐานเมืองจีน แต่อาม้าบอกว่าห้องน้ำหญิงมีบางส่วนเป็นส้วมชักโครกด้วย ซึ่งผมไม่ได้สำรวจทุกห้อง ห้องน้ำชายก็อาจจะมี นับว่าผมมายุคที่เขาพัฒนาขึ้นมากแล้ว เอ...หรือว่าเมืองจีนเขาจะพัฒนาแล้วหว่า มาสามวันแล้วยังไม่เจอจังๆเลย 



บทความตอนที่แล้ว


Ek Feng Shui: Journey to the toilet in China 3 ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 3

Ek Feng Shui: Journey to the toilet in China 2 ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 2


Ek Feng Shui: Journey to the toilet in China part 1ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน ตอนที่ 1

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Upload รูปจำนวนมาก ไป Facebook และ Picasa ใน iPad

Upload รูปจำนวนมาก ไป Facebook และ Picasa ใน iPad 

ทั้งคุณสมิท คุณพิเรน เพื่อนที่ผมกล่าวถึงในบทความก่อนๆ   ทั้งสองคนไม่รู้จักกันเพราะเป็นเพื่อนผมคนละสาย แต่ต่างก็บ้าการถ่ายรูปกันทั้งคู่ ถือกล้องกันเป็นเรื่องเป็นราว ถ่ายเสร็จก็เอามาลง iPad แล้วเช็คคุณภาพรูป การตั้งค่าแสง กันอย่างจริงจัง อย่างที่บอก iPad มีข้อดีเด่นอย่างหนึ่งคือการดูรูปทำให้คุณภาพชีวิตของนักถ่ายภาพดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ส่วนผมแม้จะบ้าถ่ายรูป แต่ไม่บ้าพกกล้อง อย่างคุณพิเรนนี่เที่ยวครั้งล่าสุดพี่แกเล่นพกกล้องทีสองตัว ส่วนคุณสมิทกล้องตัวเดียวแต่ใครเห็นก็ต้องรู้ว่า....ไม่ธรรมดา

พวกผู้หญิงนี่ชอบดูรูปเป็นที่สุด ระหว่างรอขึ้นเครื่องบิน หรือนั่งอยู่ในรถไปที่ต่างๆ เอาละใจร้อนขอดูรูปสถานที่ที่เพิ่งเที่ยวมา. ล่าสุดบนเครื่องบินไม่ยอมนั่งที่มารุมดูรูปหัวเราะกันคิกคัก  iPad ของผมก็มีเพื่อการนี้ล่ะ

คราวที่แล้วใน picasa ผมได้แนะนำ app web album for iPad ซึ่งคุณพิเรนบอกว่า up รูปขึ้น Facebook ไม่ work เพราะพี่แกเล่น up ทีสองร้อยรูป app มันแฮงค์ เขาเลยลอง up ด้วย App Photoloader

http://www.photoloaderapp.com/ipad/

เขาว่าดีกว่า. Ok แล้วแต่คนอย่างที่เคยบอกไว้แล้ว app ที่เข้าถึง Facebook , Picasa น่ะมันมากมายเสียจนเลือกไม่ถูก เปรียบเหมือนบางคนชอบนั่งเครื่องบิน อีกคนชอบรถไฟความเร็วสูงก็ไปถึงที่หมายเหมือนกัน

สำหรับ FB แล้วผมชอบใช้ app PhotoFresh เพราะเป็น app เจ้าเดียวกับ web album for iPad ที่ผมใช้ประจำ หน้าตา function เหมือนกันเลยจะ review ไปพร้อมๆกัน  เริ่มจาก app PhotoFresh สำหรับ Facebook

http://www.photofreshapp.com/



ควรไปตั้งค่าขนาดรูปที่จะ up ก่อนที่ Setting---> Uploading----->image size. ในภาพจะเห็นว่าเราสามารถให้ up ด้วยความละเอียดระดับต้นฉบับเลยก็ได้ซึ่งถ้าถ่ายจากกล้องละเอียดสูงก็จะช้าหน่อยครับ ซึ่งคุณพิเรนจะชอบมาก โรคจิต ติดละเอียด และชอบต่อว่าผมว่า up ภาพคุณภาพต่ำๆ เดี๋ยวนี้ Facebook ก็ up ภาพละเอียดแบบต้นฉบับได้แล้ว ซ้ำ up ไปเถอะพื้นที่ไม่เห็นจะจำกัด ติดอยู่ที่ album หนึ่งจำกัดภาพให้ได้สองร้อยภาพ ไอ้ผมเป็นประเภทไปเที่ยวหนหนึ่งภาพถ่ายภาพไม่ต่ำกว่า 1,000 ภาพ ดีที่ picasa album หนึ่ง up ไปเถิด 7-800 ภาพไม่มีปัญหา



ถ้าสร้าง album ใหม่เลยให้ไปที่ Home----> upload เลือกรูป แล้วตั้งชื่อ album ใหม่



หรือถ้ามี album เก่าอยู่แล้วจะเพิ่มรูป ก็เข้าไปที่album นั้นแล้วกดเลือก upload ทางขวามือได้เลย



อันนี้เป็นภาพจาก app web album ที่สำหรับ up ขึ้น picasa จะเห็นว่าหน้าตาคล้ายกัน ตั้งค่าขนาดภาพได้เหมือนกัน

ขั้นตอนการ up ก็เหมือนกับ app PhotoFresh ของ Facebook เลย

จะต่างกันตรงที่การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของอัลบัม Facebook เป็นอย่างนี้



ให้ตั้งค่าว่าอัลบัมนี้จะดูคนเดียว หรือให้เฉพาะเพื่อน หรือเปิดเสรีใครดูก็ได้

ส่วน picasa เป็นแบบนี้



สาธารณะ หรือส่วนตัว หรือส่วนตัวแบบดูได้เฉพาะคนที่เราส่ง link ให้เท่านั้น อันนี้ผมชอบ เพราะจะ link ไปในกลุ่มเพื่อน Facebook เฉพาะกลุ่มได้ เพื่อนคนอื่นก็ไม่เห็น

App Notes บน iPad พิมพ์เสร็จ ซิงค์กับ Email เราทันที

App Notes บน iPad พิมพ์เสร็จ ซิงค์กับ Email เราทันที 

 

Notes นี้เป็นจดหมายที่ผมส่งไปในรายการ sat&sun เมื่อต้นปีที่ผ่าน  ด้านซ้ายมือจะเห็นว่าเราสามารถเลือกจด note บนตัว iPad เองหรือจะจด note ลงใน email ก็ได้ซึ่งผมได้ add email gmail ไว้สอง account. อันหนึ่งเป็น note ใน email ส่วนตัว อีกหนึ่งเป็น Email ของบริษัทซึ่งทีมงานในบริษัทจะเห็น note นี้

จดหมายถึง satnsun. แน่นอนต้องเลือกซิงค์กับ email ส่วนตัว



คลิกเข้าไปจะเห็นว่ามี 26 notes ซึ่งทั้ง 26 notes นี้จะปรากฎใน notes ของ gmail นั่นหมายถึงต่อให้ทำ iPad หาย บันทึกของเราไม่ได้หายไปด้วย

ตอนนี้ขอสั้นๆครับ เพราะพิมพ์ระหว่างรอกินข้าวที่ร้านอาหาร

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แค่ iPad keyboard ไม่มีปุ่มลูกศร และ ไม่มี number อยู่ข้างๆก็ถึงขั้นไปต่อไม่เป็น

แค่ iPad keyboard ไม่มีปุ่มลูกศร และ ไม่มี number อยู่ข้างๆก็ถึงขั้นไปต่อไม่เป็น 

นึกไม่ถึงบางคนจะยึดติดกับ keyboard window บน computer ขนาดนี้ หนึ่งในคนนั้นก็คือ คุณพิเรน เพื่อนสนิทผมที่แม้จะมีเงินซื้อเครื่อง Mac มาใช้แล้วก็ยังไม่พ้นวิบาก ด้วยมาพบภายหลังว่า keyboard ของ mac มันไม่เหมือน window ต้องปรับแต่งกันวุ่นวายให้ใกล้ keyboard window มากที่สุด ในที่สุดไม่ไหวต้องตัดใจขาย keyboard ของ mac ไป แล้วไปซื้อใหม่ Shocked

ผมมานั่งนึก เอ....เราก็เคยใช้ window มาก่อน ครั้นเปลี่ยนมาใช้ mac เราก็ไม่เห็นต้องวุ่นวายขนาดนั้น ก็ปล่อยวาง ปรับตัวใช้ของและคำสัั่งใหม่ที่ mac มันมีให้ มีมาให้อย่างไรก็ใช้อย่างนั้น Wink

ครั้นคุณพิเรนซื้อ iPad มา ภาพการปรับตัวไม่ได้ก็ตามมาหลอกหลอนอีกครั้ง Evil or Very Mad

เพราะ iPad มันสัมผัสหน้าจอได้ เขาเลยตัดปุ่มลูกศรทิศทางทิ้งไป เพราะถ้าอยากจะให้ cursor ไปที่ไหนเราก็จิ้มหน้าจอลากไปยังจุดที่ต้องการได้อยู่แล้ว

นึกไม่ถึงแค่เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับบางคน ทำงานพิมพ์ข้อความ.......ไปต่อไม่ได้



.........App Extended Keyboard นี้พอไหวไหมเพื่อน มีทั้งลูกศร มีทั้งแป้นตัวเลข แบบที่นายใช้ที่ข้างขวาของแป้น window keyboard เลย ที่สำคัญ......ฟรีด้วย

http://itunes.apple.com/th/app/extended-keyboard/id431611075?mt=8

ที่แรกจะแนะนำ App TextWriter http://itunes.apple.com/th/app/text-writer/id417629724?mt=8 ที่ผมใช้อยู่ประจำ ตอนผมโหลดก็...ฟรี.....ดีอยู่หรอก ครั้นจะแนะนำเพื่อนไปเปิด Apps Store ตอนนี้ขายตั้ง 3.99 $ เลยฉุดมือเพื่อนไปอุดหนุนของฟรีดีกว่า

ถ้าเพื่อนยังไม่หนำใจ อยากใช้ keyboard แบบมือเดียวก็มีนะ HansOn - One handed keyboardBy Heon Joo Park http://itunes.apple.com/th/app/hanson-one-handed-keyboard/id435880040?mt=8



ถนัดซ้ายก็ตั้งค่าเป็นใช้มือซ้ายได้ด้วย



แต่เสียอย่างเดียว......รู้สึกจะไม่มีภาษาไทย

เมื่อพูดถึง keyboard แล้วทำให้นึกถึงแฟนรายการ sat&sun ท่านหนึ่งที่เขียนจดหมายมาถามว่าจะใช้เครื่องคอมพิมพ์ภาษาต่างประเทศเช่นภาษาจีนได้ยังไง พี่มาลีแนะนำว่าก็ไปพิมพ์ภาษาไทยแล้วให้ Google แปลเป็นภาษาจีนอีกที แต่ถ้าเป็น iPad เรื่องนี้หมูมาก

อย่าคิดว่าเราจะไม่ได้ใช้นะ เรื่องนี้ผมเจอมาแล้ว ตอนไปประเทศจีน ชื่อสถานที่ภาษาจีน แต้จิ๋วก็เรียกอีกอย่าง จีนกลางก็เรียกอีกอย่าง จะเทียบเป็นภาษาอังกฤษยิ่งปวดหัว เอางี้แล้วกันเราจดชื่อการออกเสียงเป็นภาษาไทยไว้ แล้วยื่น iPad ที่ใส่ Keyboard ภาษาจีน ให้คนจีนเขาพิมพ์เป็นภาษาจีนแล้วเราก็ save ไว้ในเครื่องเรา แค่นี้ก็ search google map ฉลุย

เริ่มจากเข้าไปที่ setting แล้วเลือก General แล้วก็ Keyboard





เลือก international keyboard ก็จะเข้าหน้าต่างนี้ เลือก Add new keyboard เลย



มีภาษาต่างๆที่เราจะ add ขึ้นมา แต่ภาษาจีนนี่เพียบ ซัดไปแปดอัน เลือกมาซักสามสี่อันแล้วกัน



มาแล้ว อังกฤษ ไทย จีนอีกสามแบบ

มาเช็คดู กดเปลี่ยนภาษาตรงลูกโลก







ส่งให้ไกด์ที่ดูเป็นเด็กรุ่นใหม่ เจอ keyboard แบบจีน traditional งงไปเลย มา อ๋อ เอาแบบที่สามที่เขาเรียกว่าแบบ Pinyin แทนค่าด้วยตัวอักษรอังกฤษก่อน

เจอข้อนี้เข้าไป Notebook Computer ไฉนเลยจะมาสู้ได้ 
Razz

"แต่เราก็หา(รูป)กันจนเจอ" ด้วย Web Albums for iPad

"แต่เราก็หา(รูป)กันจนเจอ" ด้วย Web Albums for iPad 

เกริ่นเป็นชื่อเพลงของสองกบ เพราะจากตอนที่แล้วที่นัดเจอรูปกันกับคุณสมิท ที่ Picasa fdktrip แต่คุณสมิทไม่มาตามนัด ทั้งๆที่คุณสมิทนั่งยันนอนยันว่า up รูปขึ้นไปแน่นอน ผมจึงตั้งข้อสัญนิษฐานว่าคุณสมิทต้อง up รูปขึ้นใน account ของตัวเองแทนที่จะ up รูปชึ้น Account fdktrip ตามที่ตกลงนัดกัน ปฎิบัติการตามหาเพื่อพิสูจน์ข้อสัญนิษฐานจึงเกิดขึ้น

ผมจะใช้โปรแกรม Web Albums for iPad เป็นหน่วยในการตามหา โหลด apps นี้ได้ที่

http://itunes.apple.com/th/app/web-albums-for-ipad-a-picasa/id364824944?mt=8 

[/url]

หน้าตา Apps เปิดมาเป็นแบบนี้ จะเห็นได้ว่าตอนนี้ผมมี Account ถึง 5 อัน!!!!! ไว้ทำอะไรน่ะหรือ?

ไว้เก็บรูปงาน และรูปส่วนตัวแยกจากกัน ทั้งยังทำหน้าที่บริหารจัดการรูปในพ่อแม่ที่แก่ชรา low tech รูปที่ท่านไปเที่ยวตามที่ต่างๆในรอบสิบปี(ที่ใช้กล้องดิจิตอล) อยู่ในการจัดการของผม โดยท่านมี iPad อยู่ที่บ้าน(ซึ่งอยู่คนละที่กับผม) ก็สามารถดูรูปได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องไปง้อคอมพิวเตอร์ที่เป็นเสมือนของแสลงสำหรับผู้สูงวัย

ตอนนี้เราจะเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไป Account fdktrip@gmail.com ไว้สำหรับเก็บรูปชาวทัวร์ FDK(ย่อมาจาก ฟ้า ดิน คน) โดยเฉพาะ



ไปที่ Setting แล้วเลือก Account ครับ



จะเห็น account เก่าที่เรามีอยู่แล้วห้าอัน จะเพิ่มไปที่ Add Account



Apps นี้สามารถจัดการรูปได้ทั้ง Picasa และ Facebook ครับ แต่ผมแนะนำให้ใช้เฉพาะ picasa ดีกว่าเพราะ Facebook มีโปรแกรมอื่นๆที่เข้าถึงได้ดีกว่า คลิกเลือกสร้างที่ Picasa



ใส่ Username และ Password เข้าไป



เพิ่มมาแล้วครับ จะเห็น album "ไหว้ครู อ.สุ" ที่ผมเพิ่ง up รูปไปในบทความที่แล้ว
เริ่มตามหารูปของคุณสมิท โดยการคลิกที่ "Friends" icon รูปคน เหนือคำว่า Accounts เห็นไหมครับ



เนื่องจากมีหลาย account Apps เลยต้องให้เลือกว่าเพื่อนที่เราตามหาจะให้เป็นเพื่อนใคร ซึ่งในที่นี่้ต้องเป็นเพื่อนกับ fdktrip อยู่แล้ว เมื่อคลิกเลือก โปรแกรมจะให้ใส่ Email ของเพื่อน ไม่จำเป็นต้องรู้ password ครับ



เจอแล้ว ชื่อคุณสมิทมาอยู่ใน list เพื่อนของ fdktrip แล้ว




Yes sss! Laughing Very Happy สำเร็จ ในที่สุดก็หาเจอแล้ว รูปร้อยกว่ารูปที่คุณสมิท up ขึ้น Account ตัวเองมาอยู่ในมือผมแล้ว

Apps Web Albums for iPad ยังไม่จบครับ โปรดติดตามตอนต่อไป 

Picasa จุดนัดพบของรูปคณะทัวร์ และการ Up รูปที่ละหลายๆรูปขึ้น Picasa

Picasa จุดนัดพบของรูปคณะทัวร์ และการ Up รูปที่ละหลายๆรูปขึ้น Picasa 

ก่อนที่จะเข้าเรื่องApp Picasa สำหรับ ipad ขออนุญาตเล่าเรื่องการ upload รูปที่ละหลายๆรูปขึ้น picasa จากคอมพิวเตอร์กันก่อน

ปลายเดือนพฤษภาคม 54 ก่อนที่จะจากกันหลังจากการไปทัวร์กับ อ.สุ ที่ปักกิ่ง ผมก็นัดหมายกับคุณสมิท ผู้ที่ถ่ายภาพได้สวยมาก ในขณะที่ผมเป็นประเภทถ่ายเยอะเข้าว่า ทำนองเก็บเรื่องราวมากกว่าจะเน้นความงาม ว่าเราจะ up รูปที่ท่องเที่ยวคราวนี้ไปเก็บไว้ที่ Picasa โดยผม up รูปขึ้นก่อนเป็นต้นแบบแล้วเมลล์ส่ง username และ password ให้คุณสมิทเพื่อจะได้ up รูปอยู่ใน album เดียวกัน เหล่าคณะทัวร์คนอื่นๆเขาจะได้เข้ามาดูและ Download รูปไปในที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายๆที่


รอแล้ว รอเล่า คุณสมิทก็ไม่มายังจุดนัดพบเสียที Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes

พอเจอคุณสมิทในงาน Meeting ลูกศิษย์ อ.สุ เมื่อวานนี้ ผมก็ปรี่ถามทันที

"อ้าว ผม up รูปแล้วนะ ผมยังเปิดดูอยู่เลย" คุณสมิทท้วง

ผมเลยเปิด iPad Web Album App ออกมาให้คุณสมิทดู

"นี่ไง ใน album Beijing Trip มีรูปอยู่ 700 รูป ซึ่งผมเป็นคน up ยังไม่มีรูปใหม่มาเพิ่มเลย"

สรุปคุณสมิทอาจ up ขึ้น User Account ของตัวเอง เพราะ Google นี่ฉลาดหลายครั้งมันจะเข้า Log in ชื่อที่เราใช้งานเป็นประจำโดยอัตโนมัติ แต่ trip นี้เราสร้างบัญชี picasa ใหม่สำหรับไว้ up รูปเวลาไปทัวร์กับ อ.สุ โดยเฉพาะ

"เอางี้แล้วกันครับ อย่าไป up ผ่าน Web ให้ไป download program Picasa Web Albums Uploader มาใช้"

สำหรับคุณสมิทผู้ใช้ Mac ไปที่นี่

http://picasa-web-albums.en.softonic.com/mac

ส่วนท่านอื่นๆที่ใช้ Window ไปที่นี่ครับ

http://ivanz.com/projects/picasauploader/

เนื่องจากผมเป็นพวกสาวก Mac ขออนุญาต preview ในส่วนของ mac ส่วนของ window จะมีวิธีคล้ายๆกันครับ เพียงแค่จับ Concept ได้ ก็ใช้ได้แล้วครับ



เริ่มจากการใส่ Google Account ซึ่งสำหรับชาวคณะทัวร์อ.สุ ผมตั้งไว้ในชื่อ fdktrip@gmail.com Password xxxxxxxx ครับ



ดูตามหมายเลขเลยครับ

1. คือตั้ง album ใหม่หรือจะ up รูปเพิ่มเข้า album เดิมก็กดเลือก Existing Album ซึ่งครั้งนี้ผมจะทดลอง up รูปงานวันไหว้ครูเมื่อปีที่แล้ว ใน album ใหม่ ตามชื่อหมายเลข 2

หมายเลข 3 ให้กดเลือกว่าเราจะให้ใครๆก็มาดูได้ก็ public album ส่วนอีกปุ่มหนึ่งคือ unlisted Album นี่คนนอกจะไม่เห็นครับ จะเห็นเฉพาะคนที่เราเชิญเขามาดูเท่านั้น แต่ยังไม่ถึงขั้น Lock album นะครับ การ Lock คือใครก็ดูไม่ได้ครับต้องมี password สถานเดียว อันนั้นเราไปตั้งทีหลังใน web หลังจากเรา up รูปขึ้นไปได้

หมายเลข 4 คือเลือกขนาด file ที่จะ upload ครับในที่นี้ผมเลือก 1000 pixels แต่ละเลือก up แบบต้นฉบับเลยก็ได้ครับ แต่ account จะเต็มเร็ว และเวลาดูผ่าน iPad ใช้ net นอกบ้าน จะช้าครับ

หมายเลข 5 เราก็ลากรูปมาวางไว้ที่นี่เลย



รูปสองร้อยกว่ารูปมาแล้วครับตามหมายเลข 6

หมายเลข 7 จะเห็นได้ว่าเราปรับขนาดภาพที่จะ upload ได้ 3 ขนาด ซึ่งโปรแกรม picasa uploader ของ window จะปรับขนาดได้มากกว่า

กดปุ่ม upload ตามเลข 8 ได้เลย



สองร้อยกว่าภาพใช้เวลาประมาณ 15 นาที



เสร็จแล้วโปรแกรมจะถามว่า จะดูภาพไหม



เมื่อกดดูภาพ ก็จะเข้า Web Picasa จะเห็นว่ารูปมาแล้ว

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Journey to the toilet in China 3 ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 3

Journey to the toilet in China 3
ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 3

เรื่องนี้เขียนขึ้นเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่จะไปเยี่ยมญาติที่เมืองจีน จะได้ใช้ประกอบการตัดสินใจ. ภาพและเนื้อหาบางอย่างเป็นเรื่องไม่น่าอภิรมย์ ผู้ที่ขวัญอ่อน อ่อนไหวในเรื่องนี้โปรดพิจารณาก่อนอ่านชม ภาพบางภาพอาจมีการปรับแต่งลดสีเพื่อความเหมาะสม
 

นึกไม่ถึงว่าชีวิตของคุณยายของผมมีอะไรบางอย่างคล้ายกับหนังเรื่อง The Joy Luck Club ที่ผมเคยดูแล้วร้องไห้เมื่อสิบกว่าปีก่อน คุณยายมีเหตุจำเป็นต้องทิ้งลูกและไม่มีโอกาสกลับเมืองจีนบ้านเกิด ต้องฝากความรักและความหวังให้ลูกสาวกลับไปเยี่ยมแทน แบบเดียวกับในหนังเลย

"โห....นี่ขนาดยุคปัจจุบันยังนั่งรถมานานขนาดนี้ สมัยแปดสิบปีก่อนนี่ไม่มีรถต้องถือว่า หวั่วม่านี่แต่งงานไกลบ้านจริงๆ"

ผมเริ่มบ่นขณะนั่งรถรับจ้างเดินทางไปยังหมู่บ้าน โผวเล้งเจี่ยเจี้ยว ซึ่งหวั่วม่า(คุณยาย)แต่งงานมาอยู่กับสามีที่นี่ สามีคนแรกซึ่งเป็นพ่อของตั่วกู๋(ลุง/พี่ชายคนโตของแม่) หลังแต่งงานหวั่วม่าก็มีลูกชายสามคน บ้านยากจนมาก วันนั้นตรงกับเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หวั่วม่าทำบ๊ะจ่างแต่เป็นข้าวเหนียวเปล่าๆไม่มีไส้ เพราะยากจน ไม่อุดมไส้แบบบ้านเรายุคปัจจุบันที่ใส่สารพัดจนบ๊ะจ่างแทบแตก วันนั้นพ่อของตั่วกู๋เหนื่อยผสมกับความหิวจัดจาการทำงานบนเขา กลับมาถึงบ้านก็รีบกินบ๊ะจ่างอัดเข้าท้อง ไม่นานก็อึดอัด และเสียชีวิต

ผู้หญิงคนเดียวต้องขึ้นเขาไปรับจ้างแบกเกลือเลี้ยงลูก กระนั้นก็แร้นแค้นมาก ลูกๆไม่มีข้าวจะกิน ในที่สุดหวั่วม่าก็ตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต หอบลูกชายคนโต(ตั่วกู๋) อายุ 6 ขวบ และลูกชายคนรอง 4 ขวบ ไปประเทศไทย ส่วนลูกชายคนเล็กนั้นเด็กมากเอาไปฝากที่บ้านน้องสามีและน้องสะใภ้ที่เมืองจีนเลี้ยง

อาหวั่วม่าไม่รู้เลยว่า การจากลูกคนเล็กครั้งนั้นจะเป็นการจากลาชั่วชีวิต ! และยิ่งไม่รู้เลยว่าจะเป็นการจากลาบ้านเกิดอย่างที่ไม่มีวันได้หวนกลับ



การตามรอยไปบ้านหวั่วม่าหลังแต่งงาน ก็ไม่ต่างกับบ้านเกิด ต้องเดินสถานเดียว รถเข้าไม่ถึง



ยิ่งเดินยิ่งแคบ



มาถึงแล้ว "อะไรกัน? อย่างกับห้องแถว!"

ที่เห็นมีสองประตูน่ะ อยู่กันสองครอบครัว ประตูด้านขวาหวั่วม่าอยู่กับสามี(พ่อตั่วกู๋) ส่วนด้านซ้ายเป็นน้องสามีกับน้องสะใภ้ เอ.....เรียกถูกหรือเปล่า ภรรยาของน้องสามี



ประตูไม้เก่าๆถูกใส่กลอน เลยถ่ายรูปลอดรูไม้แตก แลเห็นเป็นห้องแคบ มีชั้นสองเป็นพื้นไม้เก่าๆ ดูดูแล้ว น่าจะยากจนกว่าบ้านเกิดหวั่วม่าเสียอีก และแน่นอน ไม่มีห้องน้ำ!

บ้านหลังนี้เองที่เป็นบ้านเกิดของตั่วกู๋ แม้ตั่วกู๋จากมาตั้งแต่หกขวบ ปัจจุบันอายุเจ็ดสิบกว่าแล้วแต่ก็ยังจำบ่อน้ำนี้ได้



บ่อน้ำนี้เป็นตาน้ำ ระดับน้ำในบ่อจะสูงกว่าระดับน้ำในคลองเสมอ ตอนเด็กๆตั่วกู๋วิ่งเล่นกับน้อง บ้านยากจนไม่มีอะไรจะกิน ก็กินน้ำในบ่อ กับ ใช่โป๊วที่หวั่วม่าทิ้งไว้ให้ลูกกิน ก่อนออกไปรับจ้างแบกเกลือบนภูเขา ปัจจุบันนี้ตั่วกู๋จะขยาดใช่โป๊วมาก เพราะเอียนฝังใจมาตั้งแต่เด็ก

..............."แล้วน้องคนเล็ก ที่หวั่วม่าฝากน้องสามีเลี้ยงล่ะอยู่ไหน?"

หวั่วม่าเสียชีวิตก่อนที่ผมจะเกิด ผมจึงไม่มีโอกาสเห็นหน้า พูดคุย สัมผัสนิสัยใจคอ แต่การกลับมาตามรอยในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ที่เมืองจีนนั้นทำให้ผมสัมผัสได้ถึงความรู้สึก จิตวิญญาณ ความปวดร้าวที่ต้องจากบ้านเกิดและลาจากลูกที่ยังเล็ก ในหนังเรื่อง The Joyluck Club ที่ว่าเศร้าแล้ว แต่ของหวั่วม่านั้นเศร้ากว่า เพราะในหนังตอนท้ายพบว่าลูกที่ทิ้งไว้ริมถนน....ไม่ตาย แต่หวั่วม่าทิ้งลูกไว้กับญาติสนิท ลูกกลับตาย มีคนจากเมืองจีนมาเล่าให้หวั่วม่าฟังว่า เด็กร้องคิดถึงแม่ตลอดเวลา ร้องไห้จนป่วย ไม่มีใครพาไปหาหมอ ปล่อยให้ตาย

น้องสะใภ้ไม่แจ้งข่าวเลย หวั่วม่าก็ส่งเงินกลับเมืองจีนให้ตลอด โดยไม่รู้ว่าลูกตายแล้ว

ตอนจบของหนัง The Joyluck Club ก็คล้ายๆกัน แต่ของหวั่วม่าก็เศร้ากว่าอีกตรงที่ หวั่วม่ายากจนกว่าและพยายามเก็บเงินมาทั้งชีวิตเพื่อโอกาสได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดซักครั้ง พอเก็บเงินได้ก็มาล้มป่วย ก่อนตายได้ฝากความหวังไว้ที่ลูกสาว ในที่สุดอาม้าแม้จะเกิดที่เมืองไทยแต่กลับมีความปรารถนาแรงกล้าที่จะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดของแม่ให้ได้



ภาพชนบทของ โผ้วเล้ง ที่น่าจะแทบไม่เปลี่ยนแปลงจากตอนที่หวั่วม่าจากมา


เพื่อไม่ให้เศร้าเกินไป และตอนนี้ไม่มีภาพห้องน้ำให้ดู เลยขออนุญาตโพส Link Youtube รวบรวมห้องน้ำน่าสยองจากเมืองจีน ที่เพื่อนตัวแสบอุตส่าห์หามาให้ ภาพและเสียงค่อนข้างทารุณ พิจารณาก่อนชมด้วยครับ











บทความตอนที่แล้ว


Ek Feng Shui: Journey to the toilet in China 2 ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน 2


Ek Feng Shui: Journey to the toilet in China part 1ท่องไปตามห้องส้วมเมืองจีน ตอนที่ 1