วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

iPad Artworks 2 : Kanom Kheng T-shirt Logo ไอแพด งานศิลป์ตอนที่ 2 เสื้อยืด โลโก้ขนมเข่ง

iPad Artworks 2 : Kanom Kheng T-shirt Logo ไอแพด งานศิลป์ตอนที่ 2 เสื้อยืด โลโก้ขนมเข่ง
iPad Artwork ตอนที่1 เรื่องการทำโปสเตอร์จาก iPad เขียนไว้นานแล้ว

เช้าวันหนึ่ง คุณ "สะมะ" หนึ่งในเพื่อนสนิทที่คบกันมาอย่างยาวนานก็ส่งข้อความมาอย่างอายๆว่า

"เฮ้ย รบกวนหน่อย ช่วยเขียนการ์ตูนเป็นโลโก้ขนมเข่งหน่อย กรูจะขายเสื้อยืดเป็นอาชีพเสริมว่ะ"

"แล้วทำไมไม่วาดเองล่ะ"

"ก็เห็นมรึงมี iPad มันวาดการ์ตูน ง่ายเร็วกว่าเขียนมือหรือทำจากคอมเยอะ เอ่อ.....คือ....กรูจะใช้พรุ่งนี้แล้ว ขอในเย็นนี้เลยได้ป่ะ"

นั่นไง มาอีหรอบนี้อีกแล้ว จะเอางานแบบ Fastfood ไม่มีเวลาให้หายใจหายคอ

"เดี๋ยวจะทำให้ซักหลายๆแบบ แล้วจะอัพรูปไปในกลุ่ม(Facebook Group) คืนนี้ เพื่อนๆจะได้ช่วยกันประชาพิจารณ์ คัดเลือก"

"อย่าเพิ่งบอกเพื่อนๆได้ป่ะ กรูอายน่ะ"


เกมนี้ก็ได้ Sketch Agent(อีกแล้ว) เป็นตัวทำเกม แล้วส่งบอลต่อมาให้ Sketch Club จบสกอร์ ซึ่ง Sketch Club ที่เก่งการวาดการ์ตูนนอกจากลายเส้น และการหมุมกระดาษไปมาได้แล้ว ยังมีไม้ตายสำคัญคือการส่งออกแต่ละเลเยอร์ เป็น transparency ภาพโปร่งใสหรือไม่มีพื้นหลังได้อีกด้วย ซึ่งเป็นไม้ตายสำคัญที่ทำให้การส่งบอลต่อไปสร้างสรรค์งานยังแอพฯอื่นๆได้อย่างมากมาย



ตัวอักษรใช้ตัวพิมพ์ก็ได้ เขียนเอาเองก็ได้ จะให้ตัวอักษรเป็นแนวตรง หรือโค้งไล่ตามนิ้วลากก็ไม่หวั่น






ดูสองภาพสุดท้าย จะเห็นว่าไม่มีพื้นหลัง ทีนี้ สะมะ ก็สามารถเอารูปไปซ้อนบนเสื้อ บนกระดาษ บนพื้นผิวอื่นๆได้ตามใจชอบ 

PhromAke (Ek) Pipopsophonchai 

iPad Sketch 3 addicted to stylus ไอแพดวาดเส้นตอน 3 ติดยึดกับปากกา

iPad Sketch 3 addicted to stylus ไอแพดวาดเส้นตอน 3 ติดยึดกับปากกา 

ย้อนไปวันที่ผมได้ iPad มาใหม่ๆ ผมนับเป็นสาวกของ สตีฟ จอบส์ ที่ไม่เรื่องมาก ท่านศาสดาจ๊อบให้ใช้งานยังไงผมปรับตัวใช้ตามนั้น แต่นายพิเรน นี่มันเรื่องมากจริงๆ เดี๋ยว Keyboard ไม่ work บ้าง Sketch งานด้วยนิ้วไม่ถนัดบ้าง

จริงๆแล้ว iPad เขาออกแบบมาให้เราใช้นิ้วลากไปที่หน้าจอโดยตรง ซึ่งโดยหลักการแล้วมันน่าจะได้งานดังใจเรามากกว่าอดีต ที่เราต้องสื่อสารลายเส้นเราผ่านคนกลางอย่างปากกา ดินสอ

ผมเลยบอก พิเรน ไปว่า ในอดีตยุคมนุษย์ถ้ำเขาก็ไม่มีปากกาใช้ เขาก็วาดกันได้ การใช้ปากกานี่เป็นของที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมาภายหลัง เราเลยไปยึดติด เสพติดว่าจะต้องจับปากกาจึงจะวาดได้ แท้จริงแล้วถ้าเราปล่อยวาง เราจะพบว่าการใช้นิ้วนี่แหละ มันถ่ายทอดวิญญาณของเราออกมาได้โดยตรง

นับว่า สตีฟ จอบส์ เขาใช้หลักพุทธหลายอย่างในการมาออกแบบสินค้าเขา ครั้งหนึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า นอกจากรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายที่เขาเอาหลักคิดจากพุทธแล้ว เขายังเชื่อว่าเมื่อเราตายไปแล้ว ชีวิตเรายังไม่จบแบบการปิดสวิทช์ทีวี จิตเราน่าจะยังคงอยู่ ดังนั้นจะสังเกตว่าอุปกรณ์ ไอโฟน ไอแพด ของเขาจะไม่มีปุ่มปิดเครื่อง แม้กระทั่ง Macbook ของผมนานๆผมจะปิดเครื่องสักครั้งหนึ่ง เพราะ Mac เขาออกแบบให้มีระบบ Sleep ได้อย่างดีเยี่ยม ใช้งานเสร็จแค่พับหน้าจอ เครื่องจะนอนหลับ เช้าวันใหม่แค่เปิดจอขึ้น มันก็ตื่นพร้อมใช้งานทันที ไม่ต้องปิด Shut Down เครื่อง


นอกเรื่องตั้งยาวแค่จะบอกว่า การที่ จอบส์ ไม่ยึดติดกับปากกานั่นเอง ทำให้เกิดไอโฟน ไอแพด ขึ้น ก่อนหน้านี้อุปกรณ์ทั้งหลายพัฒนาไปไม่เต็มที่ เพราะไปติดกับสื่อสารผ่านปากกา stylus เม้าส์ ฯลฯ


แต่มนุษย์ก็ยังเป็น คน วันยังค่ำ เมื่อชินถนัด ยึดติดกับอะไรแล้ว ก็จะดิ้นรนตอบโต้เวทนา(ศัพท์นักวิปัสสนา) หาทางไปสู่สิ่งที่ตัวเองยึดติดจนได้


ก่อนที่คนเราจะตายจะเกิดเวทนาผุดขึ้นมาจำนวนมาก ดังนั้นก่อนตายเขาจึงพร่ำพูดให้ผู้ใกล้ตาย นึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่เชื่อเถอะคนจำนวนมากจะทำไม่ได้ เพราะจิตเราไม่ไว แหลม และแน่นพอ จิตเราจะตอบโต้เวทนานั้น แล้วไหลไปสู่กับสิ่งที่เราติดยึดยามที่เรามีชีวิตอยู่ ยกเว้นเราจะฝึกจิตวิปัสสนาจนเข้าใจการอุเบกขาอย่างแท้จริง........โห ยิ่งนอกเรื่องไปไกลมาก


เพียงเพื่อจะบอกว่า คุณพิเรน ก็ดิ้นรนตอบโต้เวทนาด้วยการ สั่งปากกาเขียนหน้าจอไอแพด จากอเมริกา ! (ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีขายเท่าไหร่)

พร้อมทั้งปรารถนาดีชวนผมซื้อด้วย ผมเลยลองซื้อมาและพบว่า การตอบสนองนั้นสู้นิ้วไม่ได้ แต่มีติดไว้ก็ดี เพราะเมื่อใช้นิ้วมากๆ ทั้งจิ้ม ทั้งลาก ..............เจ็บนิ้วครับผม จึงต้องสลับใช้กับปากกา




ในภาพนี้มีปากกายี่ห้อดัง Pogo จากอเมริกา ฝากซื้อมาห้าร้อยกว่าบาท ในไทยรู้สึกจะขายเกือบพัน กับปากกา Noname ซื้อจากห้างชานเมืองแถวบ้าน ราคาแค่ 100 บาท..........แต่เขียนดีกว่าของแพง ซ้ำจับถนัดกว่า วัสดุที่ใช้ปลายปากกาก็ทนทานกว่า

ดังนั้นก่อนเลือกซื้อ ลองเขียน ลองจับดูให้ดีก่อนว่า ถนัดกับตัวท่านหรือไม่ ใช่ว่าของแพงจะดีกว่าเสมอไป




PhromAke (Ek) Pipopsophonchai